
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ระบบการจัดเก็บภาษีล่วงหน้าที่สรรพากรกำหนดขึ้น
โดยให้ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่ หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ทุกครั้งที่จ่าย
ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนด
จากนั้นผู้จ่ายเงินจะต้องนำเงินภาษีที่หักไว้ส่งให้กับกรมสรรพากร
ในบทความนี้ AT ALL ได้สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แบ่งออกเป็น
4 หัวข้อ ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. เงินได้ประเภทใด ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
3. สรุปอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่พบบ่อย
4. การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ระบบการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า
ที่สรรพากรกำหนดขึ้น โดยให้ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี
จากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษี
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่สรรพากรกำหนด จากนั้นผู้จ่ายเงินจะต้องนำเงินภาษี
ที่หักไว้ส่งให้กับกรมสรรพากร
บทความนี้ AT ALL ได้สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. เงินได้ประเภทใด ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
3. สรุปอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่พบบ่อย
4. การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมักจะเกี่ยวของกับบุคคล 2 ฝ่าย คือ
1. ผู้จ่ายเงิน หรือ ผู้มีหน้าที่ หัก ณ ที่จ่าย
2. ผู้รับเงิน หรือ ผู้ที่ถูก หัก ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ระบุว่า ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม
หรือคณะบุคคล ผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงิน
1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมักจะเกี่ยวของกับบุคคล 2 ฝ่าย คือ
1. ผู้จ่ายเงิน หรือ ผู้มีหน้าที่ หัก ณ ที่จ่าย
2. ผู้รับเงิน หรือ ผู้ที่ถูก หัก ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ระบุว่า
ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม
หรือคณะบุคคล ผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
หักภาษีเงินได้ไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงิน



2. เงินได้ประเภทใด ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามที่กฎหมายระบุว่า ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
ผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงิน
เงินได้ตามมาตรา 40 นั้น แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม สรุปเบื้องต้นที่มักเจอบ่อยๆ ดังนี้
เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง
เบี้ยเลี้ยง โบนัส
เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น
ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า การรับทำงานให้
เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
การให้เช่าทรัพย์สิน
เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป
วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มี
พระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมา
เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การขนส่ง
การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
2. เงินได้ประเภทใด ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามที่กฎหมายระบุว่า ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม
หรือคณะบุคคล
ผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้
ไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงิน
เงินได้ตามมาตรา 40 นั้น แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม
สรุปเบื้องต้นที่มักเจอบ่อยๆ ดังนี้
เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส
เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่ง
งานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น
ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า การรับทำงานให้
เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์
หรือสิทธิอย่างอื่น
เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล
เงินส่วนแบ่งกำไร ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือ
ประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน
เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ
วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม
สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกา
กำหนดชนิดไว้
เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมา
เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์
การเกษตร การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์
หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
3. สรุปอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่พบบ่อย

4. การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ผู้จ่ายเงิน มีหน้าต้องนำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่หักไว้
ตอนจ่ายชำระเงิน ส่งสรรพากรทุกๆ สิ้นเดือน
– ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบกระดาษ
– ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบออนไลน์
แบบฟอร์มที่ใช้ในการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้ดูที่
ผู้รับเงินเป็นสำคัญ
ฟอร์มที่มักพบบ่อยๆ แบ่งเป็น 3 แบบ หลักๆ ดังนี้
1. แบบ ภงด.3 กรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา
2. แบบ ภงด.53 กรณีผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล
3. แบบ ภงด.1 กรณีเป็นการจ่ายเงินเดือนหรือ
ค่าตอบแทนพนักงาน
ผู้จ่ายเงิน มีหน้าต้องนำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่หักไว้ตอนจ่ายชำระเงิน ส่งสรรพากรทุกๆ สิ้นเดือน
– ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบกระดาษ
– ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบออนไลน์
แบบฟอร์มที่ใช้ในการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้ดูที่ผู้รับเงินเป็นสำคัญ
ฟอร์มที่มักพบบ่อยๆ แบ่งเป็น 3 แบบ หลักๆ ดังนี้
1. แบบ ภงด.3 กรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา
2. แบบ ภงด.53 กรณีผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล
3. แบบ ภงด.1 กรณีเป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนพนักงาน
ผู้จ่ายเงิน มีหน้าต้องนำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่หักไว้ตอนจ่ายชำระเงิน ส่งสรรพากรทุกๆ สิ้นเดือน
– ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบกระดาษ
– ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป – กรณียื่นแบบออนไลน์
แบบฟอร์มที่ใช้ในการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้ดูที่ผู้รับเงินเป็นสำคัญ
ฟอร์มที่มักพบบ่อยๆ แบ่งเป็น 3 แบบ หลักๆ ดังนี้
1. แบบ ภงด.3 กรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา
2. แบบ ภงด.53 กรณีผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล
3. แบบ ภงด.1 กรณีเป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนพนักงาน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศึกษาข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย
มาตรา 38_64 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
ท.ป.4/2528 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
ดาวโหลดแบบฟอร์มนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
ตัวอย่างแบบนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย



แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศึกษาข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย
มาตรา 38_64 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
ท.ป.4/2528 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
ดาวโหลดแบบฟอร์มนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)